
เมื่อพูดถึงการทำงานของเครื่องยนต์คงไม่มีใครไม่รู้จักเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เพราะเจ้าเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่ว่านี้อยู่กับเรามาหลายยุค หลายสมัย เรียกได้ว่าแต่ละรุ่นทั้งเร็ว แรง สะใจบรรดาสิงห์นักบิดกันไปตามๆ แต่มีใครเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่ากว่าที่เจ้าเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะออกสู่ตลาดได้นั้น มันมีความพิเศษ มีหลักการทำงานอย่างไร อย่ามัวรอช้าเรามาทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะกันดีกว่า
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะเครื่องยนต์ 2 จังหวะกันดีกว่า
ขออธิบายหลักการทำงานของเครื่องยนต์ทุกชนิดก่อนไม่ว่า 4 หรือ 2 จังหวะ จะมีเหมือนกันแต่เลือกใช้ต่างกัน นั่นคือ ดูด อัด ระเบิด และคาย ซึ่งในส่วนของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะเป็นการรวม 2 ต่อ 2 เข้าด้วยกัน หมายถึง รวมจังหวะดูดและอัดเข้าด้วยกัน ในขณะที่ก็รวมจังหวะระเบิดและคายเข้าด้วยกัน ก็จะออกมาเป็น 2 จังหวะที่เราใช้กันอยู่นั่นเอง ความเครื่องยนต์ 2 จังหวะยังมีต่อ โดยปกติเครื่องยนต์ทุกเครื่องจะมีในส่วนของพอร์ตไอดี กับพอร์ตไอเสีย เครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะอาศัยการขึ้นลงลูกสูบเพื่อควบคุมการเปิดและปิดพอร์ตไอดีและไอเสีย
จังหวะแรก : ดูดและอัด
จังหวะอัดจะเป็นช่วงเวลาที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่พอร์ตของไอดีเปิด ทำให้อากาศได้เข้าไปผสมกับน้ำมันที่มีอยู่ไหลเข้ามาที่ห้องเผาไหม้ด้านล่างตามแรงดูด (ที่เลื่อนขึ้นอยู่) ทำให้เกิดการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง
จังหวะสอง : ระเบิดและคาย
หากย้อนไปดูที่จังหวะแรกไอดีในห้องเผาไหม้จะกลายเป็นจุดระเบิดทันทีเมื่อหัวเทียนทำกระแสไฟกับลูกสูบเมื่อขยับเข้าใกล้ศูนย์ตายบน ในขณะเดียวกันนั้นลูกสูบก็จะเลื่อนลงไปเปิดพอร์ตไอเสีย เกิดช่วงคาย ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกันระหว่างเครื่องยนต์ที่กำลังอยู่ในจังหวะระเบิด กับเครื่องยนต์ที่กำลังจะคายออก
แน่นอนว่าจังหวะระเบิดและคายไม่สามารถแบ่งการทำงานให้เห็นได้ชัดเจน เนื่องจากเกิดแทบจะพร้อมๆ กัน แต่หากลองมองให้ลึกลงไป เมื่อเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่ลูกสูบเลื่อนลงเป็นจังหวะของการจุดระเบิดที่ต้องส่งไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้พร้อมกับจังหวะคายนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เตรียมพร้อมเข้าสู่จังหวะแรก และจังหวะสองในเวลาต่อมาอีกครั้ง วนเป็นวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะไปเรื่อยๆ ส่วนอัตราการเร่งเครื่องยนต์ของ 2 จังหวะ มีความต่อเนื่อง เร็ว แรง มากกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เกือบๆ 2 เท่า
แต่ก็ใช่ว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะมีแต่ข้อดีอย่าง ความต่อเนื่อง เร็ว แรง เสมอไป ข้อเสียของเจ้านี่ก็มีเช่นกัน นั่นคือการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียเกินมาตรฐาน รวมถึงกินน้ำมันเยอะจนผู้ใช้งานโอดโอยเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปตามๆ กัน